‘..ต้องไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ที่ไม่มีทุกข์ทับถม..’
ทำความเพียร อย่างมงาย แต่ให้มีความแหลมคม มีความชัดเจน ประกอบด้วยปัญญา ตามทางสายกลาง “ศีลสมาธิปัญญา”
‘..ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้นด้วย..’
‘..เมื่อกำลังตั้งไว้ ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์..เพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญอยู่ วิราคะก็เกิดมีได้..’
เปรียบเหมือนชายหนุ่มมีจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวที่ระริกซิกซี้กับชายอื่น เพ่งไปที่เหตุแห่งทุกข์ กำหนดไว้ด้วยสติ ตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ความคลายกำหนัดจะเกิดขึ้นได้
‘..ความบากบั่น ความพากเพียรจะมีผลขึ้นมาได้..’

Time index
[01:10] จิตตวิเวก | ระบบแห่งความเพียรที่มีผล
[01:59] ปฏิบัติภาวนา | การเจริญอานาปานสติ
[14:59] ลักษณะความเพียรที่ไร้ผล
[23:32] ลักษณะความเพียรที่มีผล
[36:16] สำคัญที่ความเข้าใจ ต้องไม่งมงาย
[42:29] การประพฤติพรหมจรรย์