วัฏสงสารเปรียบเสมือนห้วงน้ำใหญ่ ผู้ใดที่ยังไม่บรรลุมรรคผลย่อมเหมือนกับผู้ที่พยายามเวียนว่ายอยู่ในห้วงน้ำนั้น อาจจะจมบ้าง โผล่พ้นน้ำได้บ้าง ขึ้นกับความดีหรือความชั่วที่ได้กระทำ กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่ได้สร้างขึ้น ทั้งนี้ความเสื่อมและความเจริญสามารถปรากฏได้ ขึ้นกับเหตุปัจจัยที่เราสร้างขึ้น
หากผู้ใดที่ได้บรรลุมรรคผลแล้วก็เหมือนเห็นทางที่จะพึงไปให้ถึงฝั่งได้ และหากผู้ใดที่ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งโน้น ยืนได้บนบกก็คือ พระอรหันต์นั่นเอง ด้วยท่านจะเข้าสู่พระนิพพาน ความดับเย็น ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนี้อีกต่อไป

Time index
[02:04] เข้าใจทำด้วยการเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[07:21] เปรียบด้วยวิธีการรักษาชีวิตของคนตกน้ำทั้ง 7 ประเภท
[09:36] เปรียบด้วยการพยายามหาทางออกของคนหลงป่าในเวลากลางคืน
[17:29] ตัณหามีทั้งข้อดีและข้อเสีย
[21:45] อธิบายถึงคนตกน้ำ 7 จำพวกเปรียบเทียบกับการสร้างกุศลธรรม
[23:01] กำลังพระเสขะ
[28:53] สติทำให้กำลังพระเสขะไม่เสื่อมถอยลง
[42:22] ทั้งความเสื่อมและความเจริญปรากฏได้ ถ้าสร้างเหตุปัจจัย
[53:42] ปฏิบัติตามมรรคแปด ด้วยความอดทนสูง สติเพิ่ม ปัญญาแจ่มแจ้ง
อ่าน “สัตตกนิทเทส” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
อ่าน “อุทกูปมาสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ฟัง "ความแตกต่างระหว่างพระเสขะและพระอเสขะในแง่มุมของการเจริญสติปัฏฐาน" ออกอากาศทาง FM92.5 ในรายการ "ธรรมะรับอรุณ"