มาในพระสูตรที่กล่าวเปรียบให้เห็นถึงความต่างของวรรณะและบุคคล ใน เวขณสสูตร เริ่มจากการที่ปริพาชกไม่สามารถแจกแจงความต่างของวรรณะได้ พระพุทธองค์จึงยกไล่มาตามลำดับ จนสุดท้ายเปรียบความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั่นคือการการหลุดพ้นจากอวิชชา ส่วนใน โฆฏมุขสูตร ท่านพระอุเทนะยกให้เห็นถึงความต่างของบุคคล 4 จำพวก และยังให้พราหมณ์ได้เห็นว่าการบวชอันชอบธรรมนั้นมีอยู่ เกิดศรัทธาที่หยั่งลงหมั่น
"ดูกรพราหมณ์ บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทพวกหนึ่ง ในโลกนี้ กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ย่อมแสวงหาบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน ส่วนบริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต"

Time index
[02:42] เวขณสสูตร เรื่องของเวขณสปริพาชก
[04:50] เปรียบวรรณะ 2 อย่าง
[14:30] เปรียบความเลิศของกาม, กามสุข และสุขอันเป็นที่สุดของกาม
[18:43] การหลุดพ้นจากเครื่องผูกและปริพาชกยอมจำนน
[22:21] โฆฏมุขสูตร โฆฏมุขพราหมณ์
[26:39] บุคคล 4 จำพวก ควรยินดีในพวกไหน และการบวชโดยชอบธรรมมีอยู่
[33:37] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน
[36:27] บุคคลผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
[37:07] บุคคลผู้ทำให้เดือดร้อนทั้งสองฝ่าย
[39:19] บุคคลผู้ไม่ทำให้เดือดร้อนทั้งสองฝ่าย
[50:38] พราหมณ์ถึงสรณะ
อ่าน "วขณสสูตร" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
อ่าน "โฆฏมุขสูตร" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์