ในตอนนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างระหว่าง "อามิส" และ "ธรรม" ในความเป็นเลิศ ในแต่ละหัวข้อแต่ละประเด็นที่มาใน ทานวรรค หมวดว่าด้วยทาน มี 10 ข้อ [142-151] และ สันถารวรรค หมวดว่าด้วยการรับรอง มี 12 ข้อ [152-161]
…ในการกระทำทุกอย่างของเรา มันมีธรรมทานได้ ด้วยการนำเอาธรรมะมาปฏิบัติ เช่น มีการให้อภัย มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีการปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6 อย่างดี ขยันทำมาหากิน เป็นต้น ซึ่งจุดที่พระพุทธเจ้าทรงจำแนกสิ่งที่เป็นธรรมะกับสิ่งที่เป็นอามิสนี้ ก็เพื่อที่จะให้เราเห็นความละเอียด ความประณีตลึกซึ้งที่มากยิ่งขึ้นตามนัยของ "การให้ธรรมะ ย่อมชนะการให้ทั้งปวง"

Time index
[02:34[ ทานวรรค และ สันถารวรรค | เปรียบเทียบ "อามิส" และ "ธรรม" ในแต่ละหัวข้อในแต่ละประเด็น
[04:08] [142] อามิสทาน และ ธรรมทาน
[06:09] ทำความเข้าใจในเรื่องของทาน
[16:33] [143] การบูชายัญด้วยอามิส และ ด้วยธรรม
[22:12] [144-145] การสละ (จาคะ) และการบริจาค ในอามิสและธรรม
[24:43] [146] การบริโภคอามิส และ ธรรม
[28:27] [147] การคบหากันด้วยอามิส และ ด้วยธรรม
[33:25] [148] การจำแนกอามิส และ จำแนกธรรม
[35:22] [149-151] การสงเคราะห์ / การอนุเคราะห์ / ความเอื้อเฟื้อ ด้วยอามิส และ ด้วยธรรม
[37:43] [152-153] การรับรอง (สันถาร) / การต้อนรับ (ปฏิสันถาร) ด้วยอามิส และ ด้วยธรรม
[42:32] [154-156] การเสาะหา / การแสวงหา / การค้นหา ซึ่งอามิส และ ธรรม
[46:08] [157] การบูชาด้วยอามิส และ ด้วยธรรม
[47:56] [158] ของต้อนรับแขกคืออามิส และ คือธรรม
[48:37] [159-160] ความสำเร็จ / ความเจริญ ทางอามิส และ ทางธรรม
[50:54] [161] อามิสรัตนะ (รัตนะคืออามิส) และ ธัมมรัตนะ (รัตนะคือธรรม)
[52:27] [162-163] การสะสมอามิส และ การสั่งสมธรรม | ความไพบูลย์แห่งอามิส และแห่งธรรม
อ่าน "๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. ทานวรรค หมวดว่าด้วยทาน" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อ่าน "๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. สันถารวรรค หมวดว่าด้วยการรับรอง" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต