"สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมให้จิตเจริญ"
จิต ที่เจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมละราคะได้"
วิปัสสนา ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ"
ปัญญา ที่เจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมละอวิชชาได้"
[๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา
๓. พาลวรรค
หมวดว่าด้วย "คนพาล"
เราอยู่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต คือ หมวดที่เป็นธรรมะ ๒ ข้อ [๓. ตติยปัณณาสก์]
หมวดที่เป็นธรรมะ ๒ ข้อ เราเรียกว่า "ทุกนิบาต"
คราวที่แล้วเราพูดถึง ๑. กัมมกรณวรรค คือ วรรคที่ว่าด้วย เรื่องของ "โทษ"
และ ๒. อธิกรณวรรค คือ วรรคที่ว่าด้วย เรื่องของ "อธิกรณ์"
วันนี้เราจะพูดถึง ๓. พาลวรรค วรรคที่ว่าด้วย เรื่องของ "คนพาล"
พาลวรรค จะพูดถึงเรื่องของ"คนพาล"
พระพุทธเจ้าบอกว่า "คนพาลมี ๒ จำพวก"
คนพาล ย่อมคิด พูด และทำชั่ว นี่คือ ลักษณะนิสัยของคนพาล
พอมีลักษณะ ๓ ประการนี้ แล้ว ผลเขาก็จะมีได้ ๒ จำพวก คือ
ในข้อที่ ๒๒ บอกว่า คนพาลมี ๒ จำพวก และบัณฑิตมี ๒ จำพวก
โดยคนพาล จะมีลักษณะ ๑) ไม่เห็นโทษ โดยความเป็นโทษ
๒) คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
"บัณฑิต ๒ จำพวกนี้"
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
๒. คนที่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑)
[๒๓] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนเจ้าโทสะที่มีความโหดร้ายอยู่ภายใน
๒. คนที่เชื่อโดยยึดถือผิด
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๒)
[๒๔] คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้”
๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคต
ไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกนี้ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้”
๒. คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๓)
[๒๕] คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะมีการขยายความแล้ว”
๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่ควรขยายความ”
คน ๒ จำพวกนี้แลย่อมกล่าวตู่ตถาคต (๔)
[๒๖] คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง? "คือ
๑. คนที่แสดงสุตตันตะที่ควรขยายความว่า “สุตตันตะควรขยายความ”
๒. คนที่แสดงสุตตันตะที่มีการขยายความแล้วว่า “สุตตันตะที่มี
การขยายความแล้ว”
คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต (๕)
คติ และฐานะ ๒ อย่างเป็นต้น
[๒๗] ผู้มีการงานปกปิดไว้ พึงหวังได้ ๒
- คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ผู้มีการงานไม่ปกปิดไว้พึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดา หรือมนุษย์ (๖)
[๒๘] ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๗)
[๒๙] ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ เทวดา หรือมนุษย์ (๘)
[๓๐] สถานที่รองรับคนทุศีล ๒ แห่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
สถานที่รองรับคนมีศีล ๒ แห่ง คือ เทวดา หรือมนุษย์ (๙)
[๓๑] เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๓
- ๒ ประการจึงอาศัยเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ๔-
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง? "คือ
๑. เห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน
๒. อนุเคราะห์คนรุ่นหลัง
เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ (๑๐)
[๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
"สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมให้จิตเจริญ"
จิตที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมละราคะได้"
วิปัสสนาที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ"
ปัญญาที่เจริญแล้วย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร?
"คือ ย่อมละอวิชชาได้"
จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญา(มรรคปัญญา คือ ปัญญาในขณะแห่งมรรค) ที่เศร้าหมอง เพราะอวิชชา
ย่อมไม่เจริญ เพราะสำรอกราคะจึงมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา จึงมีปัญญาวิมุตติ (๑๑)
- พาลวรรคที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :8

Time index
[1:39] เกริ่น
[4:43] 22 คนพาล / บัณฑิต
[10:13] บัณฑิต คือ ฉลาด
[13:08] 23 กล่าวตู่
[20:22] 24 กล่าวตู่ และ ไม่กล่าวตู่
[26:01] 25/26 กล่าวตู่ ไม่กล่าวตู่
[31:10] 27 คติ/ ฐานะ ปิดปิด ไม่ปกปิด
[34:38] 28 คติ / ฐานะ มิจฉา สัมมา
[37:37] 30 ทุศีล มีศีล
[47:01] 31 เสนาสนะสงัด
[51:43] 32 สมถ วิปัสสนา ให้เกิด วิชชา