“การฟังธรรมแล้วเรารู้ว่าเราไม่รู้อะไรดีกว่าที่ว่าเราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร…เราทำความเข้าใจไปทีละประเด็นความไม่รู้เริ่มหายไปเราจะเริ่มมีความรู้ในสิ่งที่ไม่รู้นั้น”
หัวข้อในวันนี้พระพุทธเจ้าท่านยกหัวข้อขึ้นและอธิบายเองมาในสังยุตตนิกายสฬายตนวรรคท่านได้ยกอุปมาคนถูกยิงด้วยลูกศรเป็นตัวเปรียบเทียบเมื่อเวทนาเกิดขึ้นแล้วเพราะอะไรอริยบุคคลผู้มีการสดับจึงเกิดเวทนาแค่ทางกายเท่านั้นไม่เกิดเวทนาทางจิตด้วยท่านอุปมาเหมือนถูกยิงด้วยลูกศรเพียงดอกเดียวแต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเกิดเวทนาขึ้นทางกายแล้วก็เกิดเวทนาขึ้นทางจิตด้วยอุปมาเหมือนถูกยิงด้วยลูกศร2ดอก ซึ่งเวทนาทางกายเข้ามาทางใจได้อย่างไรธรรมใดที่ช่วยป้องกันไม่ให้เวทนาซึมซาบเข้าสู่จิตและเมื่อมีอนุสัยตามนอนเนื่องอยู่ในจิตแล้วอุบายใดที่จะนำออกหลุดลอกออกซึ่งอนุสัยและไม่ให้มาแทรกซึมอยู่ในจิตได้.

Time Index
[00:01] เริ่มปฏิบัติ ด้วยการเจริญเมตตา
[05:58] เกริ่นใต้ร่ม
[08:17] ความแตกต่างระหว่างปุถุชน กับ อริยบุคคล
[11:06] อธิบายคำว่า หัวข้อ แม่บท & อรรถ
[12:29] พระสูตร ว่าด้วย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
[18:13] อธิบาย หัวข้อและอรรถ
[20:00] อธิบายเวทนาทางกายและทางใจ และเวทนาทางกายเข้าทางใจได้อย่างไร
[27:13] อธิบายอนุสัย เป็นการสะสมในจิต ท่านใช้คำกิริยาว่า เป็นการนอนตาม/ ปฏิฆะนุสัย คือ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ คือ “โทสะ”
[29:22] ราคะนุสัย คือความยินดีพอใจ คือ “ราคะ”
[31:54] อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้ ความหลง คือ“โมหะ”
[36:59] พระสูตร ว่าด้วย อริยสาวกผู้ได้สดับ
[40:56] อธิบาย สิ่งที่ป้องกันใจคือ “สติ”
[45:41] พอใจกับขัดเคืองเหมือนกัน /กามสุขอาจไม่มีกามวัตถุก็ได้ แค่นึกพอใจ ราคะก็แทรกซึมแล้ว
[47:49] แก้ไขให้เป็นอริยบุคคลด้วยสติ
[51:41] มรรค 8 เป็นกัลยาณมิตร
[56:08] สรุป ให้สติเป็นนายทวาร แล้วค่อยๆปรับเอา คนเราปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
อ่าน “สัลลัตถสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค