พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุที่ชื่อ สันธะ อย่างนี้ว่า “สันธะ !เธอจงเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์อาชาไนย ; อย่าเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์กระจอก” จากพุทธพจน์นี้ ม้าอาชาไนยจะเล็งเห็นผลของการเป็นม้าชั้นยอด ส่วนม้ากระจอกจะมุ่งไปแต่ในทางกาม เมื่อจิตใจปรารถนาที่ผลคนละแบบ จึงเพ่งไปคนละที่ ทำให้การกระทำและผล ออกมาแตกต่างกัน เปรียบเทียบกับคน ที่มีสถานการณ์ใดๆก็ตาม อย่างในสถานการณ์โรคระบาดเป็นจุดที่จะทดสอบว่าเราเอาจิตไปจดจ่อ เพ่ง ไว้ที่ไหนถ้าเราเพ่งมาถูกจุด ไม่ใช่ในทางกาม เห็นความสำคัญในสามัญผล คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะทำให้เราเป็นบุคคลอาชาไนยได้ ทำความเพียร สามารถเห็นตามที่เป็นจริง คือปรมัตถ์สัจจะ และทำจิตให้หลุดพ้นได้

Time Index
[00:10] เริ่มปฏิบัติ ด้วยการเจริญเมตตา
[08:50] การเพ่งอย่างอาชาไนย
[09:43] อ่านพระสูตร
[14:39] ม้ากระจอก คือ ม้าที่ใช้งานอะไรไม่ได้ เลี้ยงไว้เฉยๆ จิตใจจะเพ่งในทางกาม
[17:45]ม้าอาชาไนย คือ ม้าชั้นยอด จิตใจจะเพ่งไปที่ผล
[21:34] บุคคลอาชาไนย จะเพ่งไปที่ผล ที่เป็นสามัญผล คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้เกิด สุจริต 3
[23:11] การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการวางจิตและเพ่งไปให้ถูกต้องตามทาง
[31:17] อ่านพระสูตร
[36:23] ม้าอาชาไนย 4ประเภท อธิบายจากประเภทที่ 4 ย้อนขึ้นไปประเภทที่ 1
[39:47] คนอาชาไนย 4 ประเภท อธิบายไปตามลำดับ จากประเภทที่ 1ถึงประเภทที่ 4
[49:53] อธิบายคำว่า “ร้อนใจ” ความร้อนใจ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติ จนไม่ร้อนใจ จนกระทั่งมีความผาสุก
[55:19] สรุป ยิ่งใกล้ deadline ยิ่ง productive สูง เหมือนคนใกล้ตายอินทรีย์จะแก่กล้าขึ้นมาทันที
อ่าน “ปโตทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓(ฉบับมหาจุฬา)อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “อเสขสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ฟัง “บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก” ออกอากาศ ทาง FM 92.5 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2559