คำสอนของพระพุทธเจ้าจะมุ่งเน้นไปที่เหตุ ไม่ใช่กรรมเก่า ซึ่งล้วนเกิดจากการกระทำโดยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ ระบบภายในร่างกาย หรือแม้กระทั่งตัวของเราเอง โดยสามารถสรุปเป็นเหตุแห่งเวทนาทั้ง 6 อย่างอันได้แก่
เหตุแห่งดินฟ้าอากาศ
เตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ
ธาตุลม ระบบภายในร่างกาย
น้ำดี ระบบการย่อยอาหาร
ผู้อื่นทำร้าย
กรรมของตน
อย่างไรก็ตาม ความเกิด ความดับ และความพ้น ต่างก็ต้องมีเหตุปัจจัยด้วยกันทั้งนั้น เราจึงควรปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์แปดเพื่อเป็นแนวทางในการพ้นทุกข์ เข้าถึงพระนิพพานได้
มรรคแปดเป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

Time index
[03:56] ภัยจากโรคระบาด COVID - 19
[05:17] สามส่วนที่ต้องเอื้อประโยชน์และเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งได้แก่ มาตรการทางสาธารณสุข บทบาทและการตัดสินใจของผู้นำ (Leadership) รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของทุกคน (Social Responsibility) เปรียบเสมือนกับพุทโธ ธัมโม สังโฆ ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและสามารถทำให้พุทธศาสนาตั้งอยู่ได้
[12:51] คำถาม: การขับร้องเพลงและแสดงดนตรีตามโรงพยาบาลของจิตอาสา จะได้บุญหรือตกนรก
[14:04] ว่าด้วย "ตาลปุตตสูตร"
[17:09] ปิติที่เป็นอามิสคือ ปิติสุขที่เกิดขึ้นโดยต้องอาศัยเครื่องล่อ ทำให้กิเลสลดลงหรือระงับลง อีกทั้งจิตใจคนฟังเย็นลง ระงับลง ดังนั้นจึงต้องระวังการกำหนัดยินดีในอามิสนั้นๆ
[19:46] ปิติที่เป็นนิรามิสคือ ปิติสุขที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อ เป็นการพัฒนาขั้นกว่าที่ทำให้จิตใจของผู้ปฏิบัติระงับลงและสงบได้
[20:05] การละเล่นที่ทำให้เกิดราคะ โทสะ โมหะเพิ่มขึ้นย่อมไม่ดี แต่สิ่งที่ดีกว่าคือ ปิติสุขที่เป็นอามิส อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีที่สุดคือ ปิติสุขที่เป็นนิรามิส
[22:27] คำถาม: พระพุทธเจ้าทรงตรัสเกี่ยวกับโรคระบาดจริงหรือไม่ "ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมาเราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น แต่ถ้าเราทำมาหนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น"
[24:47] จากการสืบค้นพบว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสข้อความข้างต้น
[25:17] ว่าด้วยพระวินัยปิฏก "พระอาพาธโรคท้องร่วง"
[26:45] ว่าด้วยนิทานธรรมบท "พระปูติคัตตติสสเถระ"
[28:09] เหตุแห่งเวทนา 6 อย่าง
[36:07] มรรคแปดคือ ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
[38:28] คำถาม: อ้างอิงจากมหาลิสูตร ตาทิพย์และหูทิพย์เป็นเหตุให้สมาธิเสื่อม
[42:27] ต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง "วัตถุกาม" กับ "กิเลสกาม"
[45:26] คำถาม: "ชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่งสรีระอย่างหนึ่ง" หมายความว่าอย่างไร และเหตุใดภิกษุจึงไม่ควรกล่าวข้อความนี้
[52:45] คำถาม: "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์" ทั้งไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ บางครั้งมากบางครั้งน้อย ใช่หรือไม่
ฟัง "ตาลบุตร นักแสดง" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2563 อ่าน “ตาลปุตตสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อ่าน “เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ อ่าน “เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [๓๐]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓