"ชั่วลัดนิ้วมือเดียว" หมายถึง การแสดงถึงระยะเวลาที่สั้นมาก ๆ เช่นกับ การดีดนิ้ว นั่นเอง บาลีใช้คำว่า "อปรอัจฉราสังฆาต"
ได้กล่าวถึง "ธรรมะแค่ข้อเดียว" จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ที่เมื่อปฏิบัติแล้วแค่เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ผู้ทำตามคำสอนของท่าน และถ้ายิ่งทำมาก ๆ ยิ่งดีมากแน่นอน" ในสิ่งต่อไปนี้ โดยได้อธิบายรายละเอียดไว้ในแต่ละข้อ ๆ ชุดนี้ เราเรียกว่า
"โพธิกปักยธรรม ๓๗" คือ ธรรมะที่จะให้เกิดการบรรลุธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่า "นี่เป็นมรดกที่สำคัญที่ท่านมอบไว้ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย"
"โพธิกปักยธรรม ๓๗" ที่เมื่อปฏิบัติแล้วแค่เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เป็นผู้ทำตามคำสอนของท่าน และถ้ายิ่งทำมาก ๆ ยิ่งดีมากแน่นอน"
วันนี้เริ่มกันถึง "มรรค ๘" ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อันนี้ อันใดอันหนึ่งก็ได้แค่ข้อเดียว แล้วแต่ละข้อๆ ก็แค่ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็จะดีมากอยู่แล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ [๔๑๙-๔๒๖]
แต่ละข้อๆ ถ้าทำแล้ว ท่านบอกว่า "ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ถือว่า เป็นผู้ที่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท กินข้าวของชาวเมืองไม่สูญเปล่า และ "ถ้าทำยิ่งมาก ยิ่งดีแน่นอน" ข้อนี้ ท่านหมายถึง "มรรค ๘ " ด้วย ในส่วนตรงนี้ ก็จะครบเรื่องของ "โพธิกปักยธรรม ๓๗" เมื่อรวม "มรรค ๘ " เข้าไป
ทีนี้ เรามาอธิบายกันไปทีละข้อๆ เริ่มจาก "สัมมาทิฏฐิ" ที่มาใน "มหาจัตตารีสกสูตร" พระพุทธเจ้าบอกว่า "สัมมาทิฏฐิ" เป็นองค์นำหน้า สัมมาทิฏฐินี้ คือ อะไร?
"ทิฏฐิ" คือ ความเห็น
"ความเห็น" คือ ความรู้
รู้ในอะไร? "รู้ในอริยสัจ ๔ คือ
รู้ในทุกข์
รู้ในเหตุเกิดทุกข์
รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์"
ทีนี้ พระพุทธเจ้าแบ่งสัมมาทิฏฐิไว้เป็น ๒ ส่วน คือ
"ส่วนที่ยังเกี่ยวเนื่องด้วยกับโลก" ยังเนื่องด้วยกับของหนัก ยังจะให้มีการเกิดอีก แต่ก็ยังเป็นสัมมาทิฏฐิ นี้ก็ส่วนหนึ่ง
และ"ส่วนที่เหนือโลก" เป็นไปเพื่อนิพพาน นั่นก็ อีกส่วนหนึ่ง
"สัมมาทิฏฐิที่ยังเกี่ยวเนื่องด้วยโลก" หมายถึง ความเห็น หมายถึง ความเชื่อ ไม่เหมือนกันนะ
"สัมมาทิฏฐิในระดับโลก" ที่เราต้องดำเนินชีวิตอยู่ไป หมายถึง "ความเชื่อ"
ในขณะที่ "สัมมาทิฏฐิในระดับเหนือโลก" หมายถึง "ความรู้"
- ความเชื่อ ในอะไร?"ความเชื่อว่า "บาปมี บุญมี, โลกนี้ โลกหน้ามี สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นมี, ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว, คนที่ทำดีจนกระทั่งถึงบรรลุธรรมแล้ว มาประกาศบอก สอนต่อคนอื่นมี ให้พ้นจะไปด้วยได้ ก็มี หมายถึง พระพุทธเจ้า ความเชื่อแบบนี้ คือ "สัมมาทิฏฐิ"
การให้ทาน มีผล, ยันต์ ที่บูชาแล้ว มีผล นี่คือ ลักษณะของสัมมาทิฏฐิ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม หรือแม้แต่คนจะเป็นศาสนาอื่นแต่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เชื่อเรื่องทำดีได้ดี, ทำชั่วได้ชั่วอยู่แล้ว ในแง่มุมตรงจุดนี้"
เพราะฉะนั้น นี่คือ "สัมมาทิฏฐิที่อยู่ในระดับ อยู่ในโลก" จะสบายได้ ดีได้ แต่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่พ้นโลกไปเป็นโลกุตตระ "ยังเป็นโลกียะอยู่"
"สัมมาทิฏฐิในระดับเหนือโลก" พ้นจากการที่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด เป็นการวางของหนัก "ทิฏฐิ" ในที่นี้ท่านหมายถึง ความรู้, "ความรู้"ในที่นี้หมายถึง "ความรู้ในอริยสัจทั้ง ๔ คือ
ความรู้ในทุกข์ ว่า ทุกข์ คือ "ขันธ์ทั้ง ๕"
ความรู้ในเหตุเกิดทุกข์ ว่า เหตุเกิดทุกข์ คือ "ตัณหา"
ความรู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์ คือ "ต้องให้ถึงความดับไม่เหลือของตัณหา"
ความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ คือ "ความรู้ในอริยมรรคมีองค์ ๘" ว่าทางนี้ จะต้องประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการ"
"อริยมรรคมีองค์ ๘" ทางที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ทางนี้ไม่ใช่ ๘ ทาง แต่เป็นทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง แต่ละอย่างๆ ก็อยู่ด้วยกันในนี้ อันนี้พระพุทธเจ้าท่าน"ให้เจริญให้มาก ให้ทำให้มาก" ทำให้ดีแล้ว แม้แค่ชัดลัดนิ้วมือ(ดีดนิ้ว) ดีแล้ว แล้วยิ่งทำได้ทั้งวัน ยิ่งดีมากๆ "
และส่วนที่เหลือของวรรคนี้ โปรดติดตามได้ในตอนต่อไป…

Time index
[02:32] เท้าความ หมวดลัดนิ้วมือ
[05:48] 419 สัมมาทิฏฐิ
[19:43] 420 สัมมาสังกัปปะ
[28:31] 421 สัมมาวาจา
[36:42] 422 สัมมากัมมันตะ
[42:20] 423 สัมมาอาชีวะ
[47:04] 424 สัมมาวายามะ
[51:49] 425 สัมมาสติ
[52:39] 426 สัมมาสมาธิ
[55:23] สรุป ไล่ไปตามลำดับได้
[56:13] สัมมัตตะ 10