“ใช้กายที่เป็นของเน่าให้เกิดเป็นบุญ วันนี้เราจะให้กายของเราตั้งอยู่ เข้าอยู่ คงอยู่ ในความประเสริฐ กายของเราจะเข้าอยู่คงอยู่ในความประเสริฐได้ด้วยการเข้าอยู่คงอยู่คืออุโบสถ
คำว่าอุโบสถหมายถึงการที่เราจะรักษา เก็บงำ ถือเอา ตั้งเอาไว้ รักษาเก็บไว้ให้ดีของการเข้าจำ รักษากายให้ดีแบบที่เป็นอริยะ แบบประเสริฐ”
องค์ประกอบ 9 ประการที่กระทำแล้วแม้แค่วันหนึ่งคืนหนึ่งก็จะได้ชื่อว่าเข้าใกล้พระอริยเจ้า ควรทำให้เป็นปกติ รักษาไว้ให้ดี เป็นสีลานุสสติ

Time index
[00:16] เข้าใจทำเริ่มด้วยกายคตาสติ ไล่ไปตามกาย ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง
[08:02] ใช้กายที่เน่าให้เข้าถึงอริยะ ด้วยการเข้าจำในศีลอันประเสริฐ
[13:50] ความเป็นปกติในการไม่ฆ่า
[16:17] ของเขาเราไม่เอา ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว ไม่เป็นขโมย
[19:21] ห่างไกลจากเมถุนธรรม ดำรงพรหมจรรย์
[23:36] ไม่พูดเท็จ รักษาคำ รู้ก็กล่าวว่ารู้ ไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้
[26:16] ไม่ดื่มน้ำเมา และขยายไปในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพื่อไม่ประมาท
[30:16] มื้อเดียว เว้นยามวิกาล
[35:17] ไม่ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศลงดประดับกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว
[41:21] งดนั่งนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่
[44:47] รักษาอริยศีลวันหนึ่งคืนหนึ่ง ชื่อว่าเข้าใกล้เหล่าพระอริยเจ้า
[46:.05] แถมใจให้ตั้งไว้ที่พรหมวิหาร 4
[52:57] องค์ประกอบทั้ง 9 ทำให้เป็นปกติ สีลานุสสติ
อ่าน "อุโปสถสูตร" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อ่าน "สัตตสูตร" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย
ฟัง "อริยะอุโบสถ" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2561
ฟัง "อุโบสถประกอบด้วยองค์เก้า" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561