"เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ "มิจฉาทิฏฐิ" ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือน "อโยนิโสมนสิการ" เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น"
"เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ "สัมมาทิฏฐิ" ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือน "โยนิโสมนสิการ" เมื่อมนสิการโดยแยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น"
-พระพุทธพจน์
"โยนิโสมนสิการ" คือ การทำในโดยแยบคาย ก็จะเกิดเป็น "สัมมาทิฏฐิ"
"อโยนิโสมนสิการ" คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย ก็จะเกิดเป็น "มิจฉาทิฏฐิ"
เพราะฉะนั้น โยนิโสมนสิการ กับ อโยสิโสมนสิการ ก็ต้องคิดโดยแยบคาย รอบคอบ ในนัยยะของอริยสัจ ๔
การพิจารณาโดยแยบคาย พระพุทธเจ้าเคยเปรียบเทียบไว้กับ การโฆษณาชวนเชื่อของชนเหล่าอื่น ไม่ว่าชนเหล่าอื่นนั้น จะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นนักวิจัย เป็นคุณครู หรือเป็นคนในศาสนาอื่น ๆ เขาพูดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ถ้ารวมกันกับอโยสิโสมนสิการ เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิทันที
การโฆษณาชวนเชื่อของชนเหล่าอื่นรวมกับโยนิโสมนสิการ เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิทันที
เพราะฉะนั้น ใครจะพูดอะไร ชั่ว ดี ไม่ดีอย่างไร ก็ตาม มาผ่านการกระทำในใจโดยไม่แยบคายหรือโดยแยบคายก็แล้วแต่ มันก็จะออกมาเป็นแบบนั้น
ถ้าผ่านการกระทำที่พิจารณาโดยไม่แยบคาย ก็จะออกมาเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ถ้าผ่านการกระทำที่พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะออกมาเป็นสัมมาทิฏฐิ
"มิจฉาทิฏฐิ" กับ "สัมมาทิฏฐิ"
มิจฉาทิฏฐิ เป็นเหตุให้เกิดในอบายทุคติ วินิบาต และนรก
สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นเหตุให้เกิดใน สุคติ โลก สวรรค์ เปรียบเหมือนกับว่า "ไม่ว่า ดิน น้ำจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าคุณมีเมล็ดพันธุ์ คือ องุ่น ข้าวสาลี หรือว่ามะตูม ก็จะออกมาหอมหวานได้"

Time index
[01:20] วันเด็ก
[07:37] เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่าง
[08:17] สัมมา / โยนิโส, มิจฉา / อโยนิโส
[10:16] อโยนิโส การทำในใจโดยไม่แยบคาย ไม่รอบคอบ
[11:12] ดูที่ผลว่า เกิดเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรือ สัมมาทิฏฐิ
[12:18] มนสิการด้วยเหตุผล โดยนัยยะอริยสัจ 4
[21:30] ถึงแม้ยังไม่ตาย ก็จะมีจิตแบบสัตว์เดรัจฉานได้
[23:36] โยนิโส ก็มี สัมมาทิฏฐิ เป็นที่ไปสู่สวรรค์ สุคติ
[33:18] ทิฏฐิอยู่ลึก เหมือนเมล็ดพันธ์ุ ดี หรือ ชั่ว
[34:10] ต้นมะตูม และต้นสะเดา
[50:39] สรุป