“เป็น 2 อย่างที่มีธรรมชาติต่างกัน เวลาจะให้มันเกิดก็ต้องให้มันเกิดด้วยกัน มีอันหนึ่งก็ต้องมีอันหนึ่งด้วย แต่กิจที่ควรทำนั้นจะต้องแตกต่างกัน มีการรับรู้คือวิญญาณอยู่ที่ไหน มีสติก็ต้องตั้งเอาไว้ ณ ที่ตรงนั้น ระลึกรู้ ณ ที่ตรงนั้น “
ใช้พุทโธเป็นเครื่องมือเป็นป้อมยาม ที่เมื่อระลึกถึงแล้วจะก่อให้เกิดสติที่เป็นดั่งยาม สติกับวิญญาณนั้นเกิดด้วยกันมาพร้อมกันแต่ทำหน้าที่ต่างกัน สติต้องทำให้เจริญ พัฒนาได้ วิญญาณให้รู้เฉย ๆ ให้รอบรู้ทำความเข้าใจ สติที่ตั้งขึ้นจะทำให้เกิดเป็นสมาธิ สมาธิที่ละเอียดขึ้นกิเลสก็ละเอียดขึ้นตาม ต้องดูให้เห็นแม้ในสมาธิที่นิ่ง ๆ นั้น
เมื่อมีสมาธิจะเห็นอวิชชาในจิตได้เกิดวิชชาเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำมาถูกทางกิเลสตัณหาจะลดลง จิตมีความนอบน้อม คลายความยึดถือในขันธ์ 5 ได้

Time index
[01:12] เข้าใจทำ นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้าด้วย “พุทโธ”
[05:30] ความหมายของสติกับวิญญาณ, สติคือยาม พุทโธคือป้อม คือเครื่องมือ
[10:54] สติเป็นทักษะที่พัฒนาได้
[16:30] สติกับวิญญาณไม่แยกจากกัน ต้องแยกแยะให้ออก มีการรับรู้ที่ตรงไหน สติก็อยู่ที่ตรงนั้น สั่งสมทำซ้ำ ๆ จะก่อให้เกิดความระงับรวมลงเป็นสมาธิได้
[23:42] 2 สิ่ง ที่มีธรรมชาติที่แตกต่างกัน กิจที่ทำก็ต่างกัน ดั่งยามและคนเข้าคนออกสติถ้าไม่ทำไม่มีมา ถ้าฝึกทำจะพัฒนาได้ เป็น “ภาวิตา” ส่วนวิญญาณให้รู้เฉย ๆ คือ รอบรู้ ทำความเข้าใจ ฝึกทำไปเหมือนการได้มาของทอง
[29:25] เมื่อจิตเป็นอารมณ์อันเดียวจะก่อให้เกิดปัญญาที่ใช้ตัดอวิชชา ตัดตัณหา ที่ผูกโยงยึดจิตไว้กับขันธ์ 5 ได้ เปรียบเหมือนคนตาบอดกับผ้าเนื้อดี,รู้ได้อย่างไรว่าทำถูก ดูจากกิเลสที่ลดลง
[37:50] ความเข้าใจว่าสิ่งที่เป็นอนัตตาเป็นอัตตา นั่นคืออวิชชา อวิชชาฝังอยู่ในจิต จะเห็นจิตว่ามีอวิชชาได้เมื่อจิตเป็นสมาธิ
[41:15] อวิชชากับวิชชาใกล้เคียงกันมาก แต่ก็แตกต่างกันมาก ต่างกันตรงที่ตัณหามีหรือไม่มี
[44:21] วิชชาเกิด คลายความยึดถือในขันธ์ 5 ทุกสิ่งล้วนเกิดดับตามเหตุตามปัจจัยเป็นอนัตตา ปล่อยวางเสีย
[50:22] ลักษณะของสมาธิ 2 แบบ ลักขณูนิชฌาน กับ อารัมมณูปนิชฌาน
[53:25] สรุป
อ่าน "ปธานสี่ ในฐานะแห่งสัมมาวายาโม" - จตุกฺก ๒๑/๙๖ /๖๙.
ฟัง "สากัจฉาธรรม-ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาด้วยสติ" ออกอากาศทาง FM106 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ฟัง "สากัจฉาธรรม – ความเพียรสี่สถาน" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2560