การยกหัวข้อ บัว 4 เหล่า และบัว 3 เหล่า ขึ้นมาศึกษาวิเคราะห์จำแนก แจกแจง โดยอรรถ และพยัญชนะนั้นจะทำให้ความรู้ของเรานั้นมีความกว้างขวางออกไป
ในการศึกษาวิเคราะห์ทำให้ทราบส่วนหนึ่งว่า คนเราไม่เท่ากัน การพยายามให้บุคคลมีสิทธิเท่าเทียมกัน ด้วยข้อกฏหมายบ้างหรือวิธีการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างด้วยเหตุอย่างไร คนก็ไม่เท่ากัน เพราะเหตุปัจจัยที่มีมาแตกต่างกันจะให้มาเท่ากันไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้ เพราะจะต้องมีส่วนที่เหมือน และส่วนที่ต่างกันอยู่ จุดที่จะให้เหมือนกัน เข้ากันโดยสนิท ไม่แตกต่าง ไม่ว่าชายหรือหญิง รวมถึงความสามารถด้วย นั่นคือ ที่ที่จะมีความดับ ความเย็น คือ นิพพาน ปฏิบัติตามก็ไปนิพพานได้

Time Index
[00:31] เริ่มปฏิบัติ ด้วยการนั่งสมาธิประมาณ 10 นาที โดยการตั้งสติไว้กับพุทธานุสสติ
[09:04] พุทธภาษิต เรื่อง "กำจัดราคะได้ มารก็ถูกกำจัด" มาใน มานะสูตร
[13:45]ช่วง "ใต้ร่มโพธิบท" การศึกษาธรรม พระพุทธเจ้าท่านเปรียบไว้กับการจับงูพิษ
[18:35] หัวข้อ "บุคคล 4 จำพวก" และคำอธิบายมาในอังคุตรนิกาย ได้แก่ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ และปทปรมะ
[35:06] บัว 4 เหล่า ในวินัยปิฎกส่วนที่เป็นพุทธประวัติโดยย่อ
[39:03] บัว 3 เหล่า ในพระบาลีมาใน โพธิราชกุมารสูตร
[41:40] พุทธพจน์...พระพุทธเจ้าตรัสไว้กับโพธิราชกุมาร
[51:48] นักพูด4 จำพวก มาใน วาทีสูตร
[53:34] สรุป...อธิบาย คนไม่เท่ากัน จะให้คนเรามาเท่ากันไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้
อ่าน "อุคฆฏิตัญญูสูตร [๑๓๓]" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [มจร.] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน "โพธิราชกุมารสูตร [๕๑๑]" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
อ่าน "วาทีสูตร [๑๔๐]" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [มจร.] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต