บุคคลทำกรรมใดไว้ จะดีหรือร้าย จะต้องได้รับกรรมที่เผล็ดผลออกมา ไม่ว่าช้าหรือเร็วก็ตาม ฉะนั้น หากเราตระหนักกลัวในกรรมไม่ดีที่ทำไว้ แล้วหมั่นสะสมกรรมดี นั่นเท่ากับว่าเราได้เปิดหนทางสว่างให้กับตัวเองแล้ว
การทำความดีต้องอาศัย “เวลา” ที่ความดีนั้นจะปรากฎผลเหมือนกับต้นไม้ที่กว่าจะออกผลก็ต้องอาศัย “เวลา” เช่นกัน
การทำความดี ถ้าเรามี “ความมั่นใจ” ในกฎแห่งกรรม ว่าความดีมีผล ความชั่วมีผล จัดเป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น โดยอาศัย “ศรัทธา” เป็นที่ตั้ง
บุคคลทำกรรมสิ่งใด ย่อมได้รับผลจากกรรมนั้น แต่บางครั้งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรม แต่เกิดจากปัจจัยแวดล้อม อย่างเรื่องของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ประสบเคราะห์จากสภาพแวดล้อม เพราะฉะนั้นต้องมีความแยบคายในการแยกแยะ

Time Index
[04:55] ธรรมบทแปลเรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี
[10:53] เทวดาเตือนให้เศรษฐีเลิกการให้การบริจาค
[15:01] เศรษฐีกลับมารวย
[23:19] ธรรมบทแปลเรื่องอุบาสกชื่อมหากาล
[34:45] ธรรมบทแปลเรื่องนายจุลกาล
[40:48] ธรรมบทแปล เรื่อง โพธิราชกุมาร
[47:00] พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้าลาด
[50:48] บุพกรรมของโพธิราชกุมาร
อ่าน “เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี [๙๘]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙
อ่าน “เรื่องอุบาสกชื่อมหากาล [๑๓๑]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
อ่าน “เรื่องอุบาสกชื่อจุลกาล [๑๓๕]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
อ่าน “เรื่องโพธิราชกุมาร [๑๒๗]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒