พระราธะ ภิกษุผู้ว่าง่าย เป็นภิกษุรูปแรกที่บวชด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม เป็น 1 ในอสีติมหาสาวก 80 รูป ที่มีความคุณธรรมที่เลิศในด้านความเป็นผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง สามารถโต้ตอบได้ทันทีทันควัน มีปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดทันการ มีปฏิสัมภิทา มีความแตกฉาน
พระราธะมีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ ด้วยพระราธะ ตอนที่เป็นพราหมณ์เคยถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระสารีบุตร ดังนั้น พระสารีบุตรจึงสงเคราะห์พระราธะด้วยความกตัญญู นอกจากนี้ พระราธะ เป็นผู้ที่รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น บอกอย่างไรทำอย่างนั้น ไม่เกี่ยงงอน บอกง่ายสอนง่าย
และฟัง “อลีนจิตตชาดก ว่าด้วยกัลยาณมิตร” เรื่องเกี่ยวกับความกตัญญูของพระสารีบุตรในอดีตชาติ
“นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺ ชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ,
ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น,
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ นปาปิโย
เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.”
( ปณฺฑิตวคฺคธ. ขุ. 25/25/16 )
น เต อหํ อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ
อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
ยถา กุมฺภกาโร อามาก อามกมตฺเต
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
นิคฺคยฺหนิคฺคยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
ปวยฺหปวยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
านนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
โย สาโร, โส ฐสฺสติ
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
(มหาสุญฺญตสุตฺต อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖)

Time Index
[00:41] หนึ่งในหลาย ๆ เหตุที่จะทำให้ศาสนาคำสอนยืดยาวมาจนทุกวันนี้ และต่อไปเกินกว่า 5,000 ปี คือ ภิกษุผู้บอกง่ายสอนง่าย
[06:12] ธรรมบทแปล เรื่อง พระราธะเถระ
[10:01] พราหมณ์บวชแล้วเป็นคนว่าง่าย
[14:33] พระศาสดาตรัสพระคาถาปรารภพระราธะ ภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายอย่างพระราธะ (อ่านในส่วนย่อความ)
[25:21] พระราธะเป็นผู้ที่มีปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[31:20] นิทานชาดก อลีนจิตตชาดก ว่าด้วยกัลยาณมิตร
อ่าน “เรื่องพระราธเถระ [๖๐]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖