“ถ้าคำสอนนั้นดีเป็นสวากขาตธรรม ผู้สอนเป็นสัมมาสัมพุทโธ แต่ถ้าทำไม่ดีจะต้องถูกติเตียน” แต่ถ้าทั้ง 3 อย่างดีหมด ผู้สอนเป็นสัมมาสัมพุทโธ คำสอนนั้นสอนไว้ดีเป็นสวากขาตธรรม ผู้ที่ปฏิบัติ ปฏิบัติดีเป็นสุปะฏิปันนะจะดีมาก ๆ ผลขยายกว้างก้องไป
คนอื่นจะมีความสามารถมากหรือน้อยนั้น ยกไว้ แต่เน้นที่เราทำเอามาปฏิบัติได้ดีไหม ในเรื่องคำสอนต้องฟังให้ครบถ้วนกระบวนความที่ใครสักคนใดคนหนึ่งอธิบาย ฟังแล้วต้องกลับมาที่แม่บทว่า ที่ท่านพูดอยู่ตรงไหนของพระสูตรในบริบทอะไร คนฟังต้องฉลาดว่าที่พูดบอกแม่บท คือ อะไรข้อไหนที่พูดถึง เน้นเรื่องอะไรถ้าเราสามารถกลับมาที่ตัวแม่บท ฉลาดในคำสอนนี้แล้ว สามารถที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าในทางปฏิบัติได้แน่นอน
การกินเจตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
เหตุปัจจัยของการบรรลุธรรมขั้นสูง
เนื้อสัตว์ที่ควรบริโภคต้องมีเงื่อนไขอย่างไร
บทคัดย่อ
คำว่า “เจ” เป็นภาษาจีน มาจากศาสนาพุทธนิกายมหายาน หากย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาลจากบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ซึ่งท่านเป็นพระที่เดินทางไปศึกษาคำสอนในชมพูทวีป และเป็นรุ่นพี่ของพระถังซัมจั๋งอีกด้วย กล่าวไว้ว่าการรับประทานอาหารของคนในชมพูทวีป สำหรับผู้ที่อยู่ในวรรณะสูง เช่น กษัตริย์ พราหมณ์ จะไม่กินเนื้อ ล่าเนื้อ หรือทำฟาร์มสัตว์ แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีที่ดิน มีความเป็นอยู่ ใช้จ่ายน้อย จึงต้องไปเบียดเบียนสัตว์มากิน ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการกินเจในลักษณะต่างๆ เสียก่อนดังนี้
เจ คือ งดเว้นการทานเนื้อสัตว์ นม ไข่ และผักอีก ๕ ประเภทอันได้แก่ กระเทียม หัวหอม ต้นหอม หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน) กุยช่าย รวมทั้งใบยาสูบ และของมึนเมาต่าง ๆ
มังสวิรัติ คือ งดเว้นการทานเนื้อสัตว์ แต่ทานเฉพาะผัก ผลไม้ นมและไข่
วีแกน คือ งดเว้นการทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งเสื้อผ้าและของใช้ในชีวิตประจำวันก็ไม่มีการเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ด้วย
พวกที่ทานแต่ผลไม้อย่างเดียว
พวกที่ทานแต่ผัก ผลไม้แบบดิบๆ เท่านั้น ไม่ผ่านความร้อนใดๆ
คำสอนของพระพุทธเจ้าได้พูดเกี่ยวกับเหตุปัจจัยของการบรรลุธรรมขั้นสูงไว้ว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องเพศ วัย อาหารที่รับประทาน เครื่องแบบที่ใส่ หรือการโกนผมห่มเหลือง แต่เหตุปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
งดเว้นการเบียดเบียนชีวิตกันให้ได้มากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
การลงมือเองด้วยความอยากในอาหาร ความเกลียด ความโกรธ
การสั่งให้ผู้อื่นทำ
การชักชวนให้ผู้อื่นทำ
การไม่ควรกระทำในอกรณียกิจ 5 หมายถึง การค้าขายที่หรืออาชีพที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรกระทำทั้ง 5 อย่าง ได้แก่
การค้าขายสัตว์เป็น
การค้าขายเนื้อสัตว์
การค้าขายยาพิษ
การค้าขายสุรา น้ำเมาต่างๆ
การค้าขายศาตราอาวุธ
โภชเนมัตตัญญุตตา หมายถึง การมีชีวิตความเป็นอยู่ มีสติในความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นผู้อยู่ง่ายเลี้ยงง่าย คือกินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา รู้จักควบคุมปากท้องตนเองไม่ให้อยาก และไม่ยึดติดในรสชาด
นอกจากนั้น เนื้อสัตว์ที่ควรบริโภคต้องจัดอยู่ในกรณีดังต่อไปนี้
จัดเป็น “กัปปิยะ” แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่สมควรแก่สมณะ เป็นสิ่งของที่ภิกษุสามเณรบริโภคใช้สอยได้โดยไม่ผิดพระวินัย
เพื่อระงับเวทนาในกรณีของคนป่วย สามารถบริโภคน้ำต้มเนื้อประเภทใดประเภทหนึ่งได้ ซึ่งเนื้อที่ควรแก่การบริโภคได้ต้องเป็นเนื้อที่ตายเอง หรือตายด้วยเหตุปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต้องไม่เป็นเนื้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามสำหรับพระภิกษุซึ่งมี 10 ชนิดคือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้อราชสีห์ เนื้องู เนื้อหมี เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว และเนื้อเสือเหลือง
ต้องเป็นเนื้อที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้สงสัยที่ฆ่าเฉพาะเจาะจงเพื่อเรา

Time index
[08.24] คนที่บวชแล้วต้องสึกเพราะอาบัติปาราชิก เมื่อปฏิบัติธรรมจะมีโอกาสเป็นโสดาบันในชาตินี้หรือไม่ บวชเป็นสามเณรได้หรือไม่
[09.07] ปาราชิก คือ ขาดเหมือนตาลขั้วยอดที่ถูกตัดแล้ว โตไม่ได้เหมือนคนที่ศีรษะขาด ตายแล้ว ไม่ได้เป็นคนอีกต่อไป ซึ่งอาบัติปาราชิกมี 4 แบบ คือ เสพเมถุน การฆ่ามนุษย์ฯ การลักทรัพย์ฯ และการอวดอุตริมนุษยธรรมที่ไม่มีในตน
[13.13] ถ้าต้องอาบัติปาราชิกที่เกี่ยวกับการฆ่ามนุษย์ แต่ไม่ได้เป็นอนันตริยกรรมสามารบวชเป็นสามเณรได้ และถ้าปฏิบัติอย่างดีตายไปสามารถไปสู่สุคติโลกสวรรค์ แต่ไม่สามารถไม่บรรลุธรรมในชาตินี้ ส่วนถ้าทำอนันตริยกรรมไม่สามารถบวชพระและสามเณรได้ หรือเป็นฆราวาส เมื่อตายไปต้องตกนรกก่อน
[20.48] ถ้าปฏิบัติตามคำสอนของภิกษุที่มีเรื่องอื้อฉาว สิกขาลาพรตหรือมีข้อผิดทางกฎหมาย และไม่ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าคำสอน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งขัดแย้งกับข้อความในเว็บไซต์ของวัดป่าดอนหายโศก?
[22.06] หลวงพ่อดร. สะอาด หมายเจาะจงเฉพาะคำสอนที่ดีตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปาสาทิกสูตร
[27.06] โอวาทในการปฏิบัติทางจิตภาวนา “วิธีฝึกใจ” โดยหลวงพ่อดร.สะอาด ฐิโตภาโสหรือพระครูสิทธิปภากร
อ่าน "ปาราชิกกัณฑ์" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร อ่าน “ปาสาทิกสูตร ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกายปาฏิกวรรค